เวทีนำเสนอผลงานระดับประเทศ ประจำปี 2557

เพาะพันธุ์ปัญญา : เพื่อปัญญาที่งอกงามของครูและนักเรียน
เวทีนำเสนอผลงานระดับประเทศ ประจำปี 2557

ผลงานโครงงานฐานวิจัย
โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาปี 2556-57 พัฒนานักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายจำนวน 2,628 คน  โดยมีครูเข้าร่วม 761 คน มีโรงเรียนเข้าร่วม 75 โรงเรียน ทำโครงงานฐานวิจัย (RBL) ทั้งสิ้น 738 โครงงาน  แต่ละโรงเรียนทำทั้งห้อง (1 ห้อง) โดยใช้ประเด็นหลักเดียวกัน แต่มี 10 โครงงานย่อยในสาระวิชา 3 กลุ่ม คือ  วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ และมนุษยศาสตร์-ประวัติศาสตร์

ในปีนี้ โครงงานทั้งหมดแบ่งออกเป็นโครงงานเกี่ยวกับอาชีพ 439 (59.5%) โครงงานระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม 214 โครงงาน (29%) และวัฒนธรรม 85 โครงงาน (11.5%)

การประชุมระดับประเทศครั้งนี้ ได้นำเสนอ 8 โครงงาน ที่คัดเลือกจากศูนย์พี่เลี้ยง 8 มหาวิทยาลัย (ม.มหิดล ม. ศิลปากร ม. อุบลราชธานี มรภ. ศรีสะเกษ ม. พะเยา มรภ. ลำปาง ม. สงขลานครินทร์ และมรภ. สุราษฎร์ธานี)

ผลงานนำเสนอทั้ง 8 โครงงาน ได้แก่

หนังสือเรื่องเล่าครูและนักเรียน (Reflection) โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ปีที่ 1

สรุปความคิดที่กินใจของครูและนักเรียน (Quotation) โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ปีที่ 1

ผลการประกาศรางวัล  คลิกเพื่อชมวิดีโอ

คำประกาศรางวัลโครงงานฐานวิจัยเพาะพันธุ์ปัญญาชนะเลิศ ประจำปี 2557

 

อ่านเพิ่มเติม

เปิดห้องเรียนเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์

บ่มเพาะจากยุววิจัยยางพารา สู่โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา

โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จ.ศรีสะเกษ

เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2556  โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับอำเภอ สังกัดอบจ.จังหวัดศรีสะเกษ  เปิดห้องเรียนเพาะพันธุ์ปัญญาให้คนภายนอกไปเรียนรู้   อาทิ  พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  สกว. ครูโรงเรียนอื่น และธนาคารกสิกรไทย

ภาคเช้า ครูไสว อุ่นแก้ว  ทีมครูแกนนำ เด็ก และผู้ปกครอง  ได้เล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง  ครูไสวบอกว่า การสอนโครงงานในอดีต สอนแล้วเด็กเหมือนเดิม   จึงต้องเดินทางไปหาความรู้จากภายนอก และได้พบกับ “โครงการยุววิจัยยางพารา สกว.” ได้เห็นวิธีการพัฒนาเด็กและครูที่ปรึกษา จึงสนใจและเข้าร่วมโครงการมาตลอด จนถึงปี 2556 โครงการยุววิจัยยางพาราปิดตัว  จึงมาเข้าร่วมกับโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาต่อ   ครูไสวพบว่า เด็กที่ผ่านการทำโครงงานจะกลายเป็นเด็กคิดเป็น มีความสามารถในการจัดการและแก้ปัญหา  ผู้ปกครองสะท้อนให้ฟังว่า เด็กมาทำโครงงานมาอยู่กับครู ได้ประโยชน์มากกว่า

รูปครูไสว

การสอนห้องเพาะพันธุ์ปัญญา
โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา เน้นกระบวนการสอนในห้อง ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้านใน หรือปัญญาภายใน ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้ด้านนอกที่สร้างความรู้ด้วยกระบวนการการวิจัย หรือปัญญาภายนอก

 ครูไสว อุ่นแก้ว และทีครูแกนนำ ได้ออกแบบการสอนเริ่มจากการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนรู้ ด้วยการผ่อนคลายจิตใจและร่างกายผ่านการนอนสมาธิประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นจัดการให้ร่างกายตื่นด้วยการรำมวยชี่กง 5 ท่า (เตรียมพร้อมร่างกาย) หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมเรียนรู้ตามขั้นตอนของการทำโครงงาน โดยพยายามรักษาสภาวะการเรียนรู้  ครูไสวบอกว่า “ครูต้องทำให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทำให้เด็กคลายจากความกลัว ต้องทำให้อยู่ในสภาวะผ่อนคลาย”  ชมคลิปได้  ที่นี่

การเรียนการสอนแบบ PBL (Project Base Learning)

คุณกฤษฎา  ล่ำซำ รองประธาน และประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวทักทาย และเล่าประสบการณ์ตนเองที่มีแนวคิดสอดคล้องกับโครงการนี้  “เพาะพันธุ์ปัญญาขึ้นปีที่สองแล้ว ผมเพิ่งกระโดดเข้ามาเกี่ยวข้องเมื่อ 5 เดือนที่แล้ว ได้เรียนรู้การเรียนรู้แบบให้เด็กทำโครงงาน เกิดขึ้นกับตนเองตรงที่ บังเอิญลูกเพิ่งขวบกว่าๆ ต้องมองหาโรงเรียนให้ลูก ทำให้รู้ว่าแนวทางการดำเนินโครงการนี้แนวคิดตรงกัน โรงเรียนที่ส่งให้ลูกเรียนรับเด็กตั้งแต่ขวบครึ่งขึ้นไป สอนโดยแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ให้เด็กคุยกัน อาจารย์ไม่เป็นผู้สอน เป็น Facilitator อำนวยความสะดวกให้เด็ก เด็กสนใจเรื่องอะไรให้คุยกันก่อน อย่างสนใจเรื่องการบินก็คุยกันในประเด็นนั้น ๆ คล้าย ๆ กับการวิเคราะห์วิจัย ซึ่งแตกต่างจากที่อื่น” ซึ่งแนวคิดที่ตรงกันกับสิ่งที่ธนาคารส่งเสริมการศึกษาเป็นซีเอสอาร์ของธนาคาร โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาเกิดผลในภาพใหม่ เห็นความงดงามของเด็กจะใช้ทักษะสื่อออกไปสู่สาธารณะ เอาผลลัพธ์ออกไปเผยแพร่  เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้แบบนี้เป็นทิศทางที่ถูกต้องของการศึกษาของสังคมไทยต่อไป

รูปคุณกฤษฎา

คุณหมอวิจารณ์ พานิช ได้แนะนำว่า การสอนแบบ PBL ให้ลึกได้ครูต้องทำเพิ่มสามเรื่อง คือ
1. ฝึกให้เด็กเขียนไดอารี่ของการทำงาน การเขียนสามารถสะท้อนคิดได้หลายอย่าง การเขียนที่เรียกว่า self reflection คือการสะท้อนคิดด้วยตัวเองเป็นรายบุคคล นี่คือทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. การออกมานำเสนอผลงานของโครงงาน ที่นี่ดีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งคือ นำเสนอเป็นศิลปะ เป็นหนังสั้นที่เป็นละคร เป็นภาพวาด เพื่อที่จะสังเคราะห์ความเข้าใจของเด็กจริง ๆ
3. เหมือนข้อ 1 แต่ทำเป็นกลุ่ม คือ Group reflection คือ AAR กันในกลุ่ม

รูปคุณหมอวิจารณ์

ในการพัฒนากระบวนการ AAR ครูหาวิธีตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเรียนรู้ครบทุกด้าน ต้องให้เกิดการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน คือ 1. ด้านสติปัญญาหรือการพัฒนาความรู้   2. การพัฒนาการเชิงอารมณ์   3. การพัฒนาการด้านสังคม  4. การพัฒนาการด้านจิตวิญญาณ หรือการมีความภูมิใจที่จะทำประโยชน์ให้คนอื่น 5. การพัฒนาการทางด้านร่างกาย

ดังนั้น ไม่ว่าจะเรียนอะไร ต้องหาทางที่จะเรียนได้ 5 ด้านเสมอ

อีกอย่าง ครูฝึกประเมินการเรียนรู้ของเด็ก  วิธีการที่จะประเมินได้ต้องตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของเด็ก  วิธีการประเมินอาจคล้ายข้อสอบ PISA เพราะเป็นข้อสอบวัดความสามารถการใช้ความรู้ เช่น ทดสอบการอ่าน ที่ไม่ได้ทดสอบว่าคุณอ่านออกหรือไม่ แต่จะทดสอบว่าอ่านแล้วเข้าใจหรือยัง เพราะฉะนั้นครูต้องฝึกการประเมินการเรียนรู้สมัยใหม่ รวมถึงทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะการใช้ความรู้ ซึ่งก็คือข้อสอบ PISA นั้นเอง  ชมคลิปได้ที ที่นี่

ระบบการศึกษาที่ดีขับเคลื่อนด้วยเฟืองหลายตัว
ดร. อดิศวร์ หลายชูไทย รองกรรมการผู้จัดการ และเลขานุการธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า มีความเชื่อว่าระบบการศึกษาที่ดีจะเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน ซึ่งประกอบไปด้วยเฟืองอย่างน้อย 3 ชิ้นที่จะเป็นกลไกให้เดินต่อไป และหมุนไปอย่างมีความหมาย เฟืองแรก คือ ครู ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครู เฟืองตัวที่สอง คือ ตัวของเด็ก ๆ เฟืองตัวที่สาม คือ ผู้ปกครอง ผู้ที่เป็นกำลังใจสำคัญของเด็ก ๆ ซึ่งมีความหมายกับกระบวนการในการพัฒนาครั้งนี้อย่างมากมาย  ชมคลิปได้  ที่นี่

รูปคุณอดิศวร์

บทเรียนรู้

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย กล่าวว่า ทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล กระบวนการตั้งโจทย์ของเด็กที่โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์  เป็นได้อย่างรวดเร็ว ได้ประเด็นที่น่าสนใจ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ กระบวนตั้งคำถามการสอนของครูไสว ที่มี 2 แบบ แบบที่เกี่ยวกับเนื้อหา เช่น รู้ได้อย่างไรว่าใบไหนอ่อน ใบไหนแก่ และแบบที่เป็นคำถามภายใจจิตใจ เช่น ใครจะช่วยเพื่อนบ้าง ซึ่งอันหลังมันจะสะท้อนความคิดจากจิตใจภายในของเด็กได้เป็นอย่างดี  รับชมคลิปได้  ที่นี่

รูป อ.สีลาภรณ์

  • ชมคลิปวีดีโอ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย ห้องเรียนเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ได้ ที่นี่
  • เอกสาร แบบบันทึกกระบวนการสอนแบบเพาะพันธุ์ปัญญา ของโรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์  ดาวน์โหลดได้ที่นี่ ดาวน์โหลด
  • ข่าวมติชนสุดสัปดาห์ คอลัมน์: ไทยมองไทย โดย คุณสมหมาย  ปาริจฉัตต์ เขียนเล่าเรื่องจากประสบการณ์ถอดบทเรียนรู้จากเวทีเพาะพันธุ์ปัญญาทั้งหมด 4 ตอน สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ การปรับกระบวนการเรียนรู้ใหม่ วิจัยไม่ใช่การสร้างองค์ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่สร้างการพัฒนาในตัวเด็ก และครูได้อย่างมาก  ครูเข้าใจการสอนใหม่ สร้างบรรยากาศห้องเรียนให้ปลอดภัย เด็กก็จะกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น สามารถดาวน์โหลดอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

(1) มติชนสุดสัปดาห์ เพาะพันธุ์ปัญญาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

(2) มติชนสุดสัปดาห์ ความจริงของแผ่นดิน

(3) มติชนสุดสัปดาห์ ห้องเรียนปลอดภัย มหาวิทยาลัยรับใช้ท้องถิ่น

(4) มติชนสุดสัปดาห์ เพาะพันธุ์ปัญญา เพาะแบบไหน

โครงงานฐานวิจัย : กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา (พพปญ.)  เป็นโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (Research-Based  Learning) หรือ RBL  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ บจม. ธนาคารกสิกรไทย  มีโรงเรียนในโครงการ 80 โรงเรียนในภาคเหนือ อีสาน กลาง และใต้   และมีมหาวิทยาลัย 8 แห่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์พี่เลี้ยง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง  มหาวิทบาลัยพะเยา  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยศิลปากร  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

โครงการนี้มีหน่วยจัดการกลางอยู่ที่ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งทำใหน้าที่ฝึกพี่เลี้ยง เพื่อไปทำหน้าที่ฝึกครูแกนนำ

ครูแกนนำมีหน้าที่ออกแบบการสอน 1 ห้องเรียน เพื่อให้ได้นักเรียนที่คิดเป็น  มีความเป็นวิทยาศาสตร์ (คิดเป็นเหตุเป็นผล) มีทักษะในการเรียนรู้และแก้ปัญหา

กระบวนการที่ใช้ คือ กระบวนการเรียนรู้จากการค้นคว้าและตีความ ที่เรียกว่า “วิจัย”

ใช้การเรียนรู้ที่ดี  คือ การเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนสร้างความรู้ และบรรจุลงในสมองของตนเองแบบไม่รู้ตัว จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์  ได้เขียนหนังสือเรื่อง “โครงงานฐานวิจัย: กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย”   ซึ่งเป็นลักษณะการเขียนที่กลั่นมาจากผลึกประสบการณ์  ที่ชวนให้ “คิดปรุงแต่ง”  ท้าทายความคิด  และชวนให้คิดต่อ….

สามารถดาวน์โหลดหนังสืออ่านได้ที่ >>   ดาวน์โหลดหนังสือ

 

ไพโรจน์  คีรีรัตน์

พี่เลี้ยงเพาะพันธุ์ปัญญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

14  มกราคม 2556

 

 

การปฏิบัติการคิดเชิงระบบ: System Thinking Workshop

ทำไมต้องคิดเชิงระบบ?
ความคิดเชิงระบบให้อะไร?
เราจะมีความคิดเชิงระบบได้อย่างไร?
หลักสูตรพัฒนาความคิดเชิงระบบ เหมาะกับคนที่ต้องการพัฒนาตนเอง เพื่อใช้ความคิดเชิงระบบจากหลักสูตรพื้นฐานต่อยอดไปสู่ความสามารถอื่น

วิทยากร โดย
รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์
รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดูรายละเีอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่

โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา

การดำเนินโครงการ “เพาะพันธุ์ปัญญา” จะเป็นการทำงานร่วมกับครูและนักเรียน โดยครูจะเน้นการเปลี่ยนระบบคิดและวิธีจัดการเรียนการสอนให้เน้นการสอนด้วยโครงงานบนฐานวิจัย กระบวนการพัฒนาครูจะดำเนินการภายใต้การดูแลของศูนย์พี่เลี้ยง (Coaching Team) สำหรับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจะเน้นไปที่ระดับมัธยมศึกษา ทั้งในสายวิทยาศาสตร์ และสายสังคมศาสตร์/ศิลปศาสตร์

การนำร่องปีแรกนั้น โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาได้กำหนดพื้นที่สำหรับการสนับสนุนทุนผ่านศูนย์พี่เลี้ยง 8 แห่ง รับผิดชอบดูแลศูนย์ละ 10 โรงเรียน รวม 80โรงเรียน ประกอบไปด้วยโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดดังนี้ (สกว. กำหนดขยายศูนย์พี่เลี้ยงให้คลอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศใน 6 ปี)

มหาวิทยาลัยศูนย์พี่เลี้ยง

โรงเรียนจังหวัดเป้าหมาย

สงขลานครินทร์รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์  โทร 074-287207https://kruvijai.wordpress.com

Email : kirirat.pairoj@gmail.com

สงขลา  สตูล  พัทลุง
ราชภัฎ สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานี
มหิดลดร.น้ำค้าง  ศรีวัฒนาโรทัยEmail : notease24@gmail.com สมุทรสงคราม  สมุทรสาคร
ศิลปกรนายธนพ  ทังสุนันทน์Email : th.thanop@gmail.com นครปฐม  ราชบุรี
อุบลราชธานีดร.ณัฏฐ์ ดิษเจริญ  Email  scnadhdi@ubu.ac.thfacebook.com/nadh.ditcharoen อุบลราชธานี  อำนาจเจริญ  ยโสธร
มรภ. ศรีสะเกษอาจารย์ทิพวรรณ  พานเข็มEmail : thiplover@hotmail.com ศรีสะเกษ  สุรินทร์
มรภ. ลำปางอาจารย์ชุติมา  คำบูญชู   Email :ongporlove83@gmail.com ลำปาง  ลำพูน  แพร่
พะเยาดร.ประกอบศิริ  ภักดีพินิจEmail : prakobsirip@hotmail.com พะเยา  เชียงราย

โรงเรียนจังหวัดเป้าหมาย คือ โรงเรียนที่สอนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายในสังกัด สพฐ., อปท. และเอกชน

ทั้งนี้โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา ได้กำหนดให้โรงเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการสามารถสมัครได้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2555 ซึ่งท่านสามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.pohpanpunya.comหรือ http://www.เพาะพันธุ์ปัญญา.com (ดาวน์โหลดแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการเพาะพันธุ์ปัญญา) (คาดว่าจะสามารถดูรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ได้ในปลายสัปดาห์หน้า)