ครุวิจัยเทคโนโลยีอาหาร-6(ครูสุธิรัตน์): ชุมนุมรู้รักษ์บึงโขงหลง

สุทธิรัตน์  ศรีสงคราม
โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หนองคาย  เขต 3
Email : suutirut63@gmail.com
ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอาหาร  มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี 2553

ชุมนุมรู้รักษ์บึงโขงหลง : เส้นใยผักก้านจอง  กับการเก็บรักษาความชื้นในดิน

ได้นำเอาความรู้จากการอบรม มาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางาน  ในกิจกรรมโครงการพิเศษของโรงเรียน  คือ  ชุมนุมรู้รักษ์บึงโขงหลง    เข้าร่วมโครงการรู้รักษ์บึงโขงหลง  ซึ่งมีการจัดกิจกรรมการทำโครงงาน เส้นใยผักก้านจองกับการเก็บรักษาความชื้นในดิน”

ที่มาและความสำคัญของปัญหา 

พื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ  ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ  ลำดับที่ 1098  ของโลก  และลำดับที่  2  ของประเทศ  ความสำคัญคือ  มี”ผักก้ารจอง” พืชที่เป็นจุดเด่นของพื้นที่  ทำให้มีแหล่งอาหารของนกอพยพ  เป็นจุดพักของนกอพยพในฤดูกาลต่าง ๆ  ผักก้านจอง  มีลักษณะพิเศษ คือ  ก้านใบจะมีลักษณะอวบน้ำ   ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  นักเรียนเริ่มสงสัยว่า  สมบัติผักก้านจอง  น่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการดูดซับน้ำ  และเก็บรักษาความชื้นในดินได้

This slideshow requires JavaScript.

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อศึกษาข้อมูลพรรณไม้ของผักก้านจอง ตามแบบ  ก7 – 001  ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
  2. เพื่อศึกษาการดูดซับน้ำของเส้นใยผักก้านจอง
  3. เพื่อศึกษาศึกษาการรักษาความชื้นในดินของเส้นใยผักก้านจอง

 

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

            1.ได้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ระหว่าง กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน กับ โครงการรู้รักษ์บึงโขงหลง  เนื้อหาความรู้จาก 8 กลุ่มสาระ 

            2.นักเรียนเกิดการเรียนรู้ จากการจัดกิจกรรมชุมนุม ทั้งด้านทักษะกระบวนการ  ความรู้และ เจตคติดังนี้

สาระ ความรู้ ทักษะ เจตคติ
กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ข้อมูลพรรณไม้ การสำรวจข้อมูลพรรณไม้ เห็นคุณค่าพรรณไม้ท้องถิ่น
กิจกรรมรู้รักษ์บึงโขงหลง พรรณไม้ในบึงโขงหลง การสำรวจ  สังเกต ความสำคัญของบึงโขงหลงต่อพรรณไม้
วิทยาศาสตร์ การออสโมซีส  ความชื้นในดิน  การเจริญเติบโตของพืชอวบน้ำ  ปัจจัยในการดำรงชีวิตของพืชฯลฯ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์
การงานอาชีพ การเกษตร,คหกรรม,คอมพิวเตอร์ การขยายพันธุ์ การปลูก การเก็บความชื้นในดิน,การประกอบอาหาร,การสืบค้นข้อมูล,การจัดทำระบบสาระสนเทศ เห็นคุณค่าของพรรณไม้ท้องถิ่น
สังคมศึกษาฯ ท้องถิ่นของเรา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
สุขศึกษา คุณค่าทางอาหาร,สรรคุณทางสมุนไพ การสืบค้นข้อมูล  การใช้ประโยชน์ เห็นคุณค่าของพรรณไม้ท้องถิ่น
ศิลปศึกษา องค์ประกอบของพืช การวาดภาพลายเส้น,การระบายสี,องค์ประกอบของภาพ เห็นคุณค่าของพรรณไม้ท้องถิ่น
คณิตศาสตร์ การวัด,การนับ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย การวัด,การนับ,ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  
ภาษาไทย ข้อมูลพรรณไม้  ข้อมูลชุมชน การเขียน  

3 thoughts on “ครุวิจัยเทคโนโลยีอาหาร-6(ครูสุธิรัตน์): ชุมนุมรู้รักษ์บึงโขงหลง

  1. อาจารย์สุทธิรัตน์ ศรีสงคราม หน้าจะหาเรื่องเกี่ยวกับนกน่ะค่ะเพราะว่าหนูอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับนกว่าการที่นกต้องย้ายที่อยู่อาศัยเพราะเหตุใด
    และเมื่อย้ายมาถึงต้องมาพักที่เขตพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลงล่ะค่ะอาจารย์ อาจารย์ช่วยหาคำตอบให้หน่อยน่ะค่ะ

    แต่ว่างานเกี่ยวกับผักกั้นจองก็ ดี น่ะค่ะเพราะได้รับเรื่องใหม่ที่ไม่เคยพบเหตุค่ะ

    • อยากให้อาจารย์ช่วยเพิ่มเติมให้มีข้อความมากกว่านี้น่ะค่ะ
      เพราะอยากได้ความรู้มากๆคะ่ เพราะหนูก็เป็นคนบึงโขงหลงเหมือนกันค่ะ

      • อยากให้อาจารย์เอาตัวอย่างโครงงานลงในเ็บด้วยนะ่ค่ะจะได้เป็นประโยชน์แก่นักเรียนโรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม

ใส่ความเห็น